ท้องจริงหรือแค่อ้วนกันแน่? บ่อยครั้งที่เวลาเรามองผู้หญิงคนหนึ่งแล้วเกิดคำถามนี้ขึ้นมาในหัว ฉันจะต้องลุกให้เขานั่งไหมนะ ถ้าลุกแล้วปรากฎว่าเขาไม่ได้ท้อง เขาจะหาว่าฉันเสียมารยาทหรือเปล่า เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นวนลูปในชีวิตประจำวันเราอยู่ตลอด แต่...รู้ไหมว่า เมื่อมองลึกลงไปในรายละเอียดของการตั้งครรภ์และการเป็นคนอ้วนนั้น มีรายละเอียดที่แตกต่างกันมากนะ แต่จะแตกต่างกันยังไง SLIM UP CENTER มีคำตอบค่ะ
สารบัญ ดูยังไงว่าท้องหรือพุง
สำหรับวิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง พุงคนท้องระยะแรกมองออกเลยไหม คนท้องระยะแรก หรือช่วงไตรมาสแรกพุงของแม่ท้องมักจะสังเกตเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก เพราะมดลูกขยายขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากทารกในครรภ์ยังมีขนาดเล็กมาก น้ำหนักตัวจะค่อนข้างคงที่ หรือน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 1-3 กิโลกรัม แต่จะเริ่มมีอาการต่าง ๆ ที่แสดงให้รู้ว่ากำลังตั้งครรภ์ ได้แก่ อาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เต้านมคัดตึง หรือมีเลือดออกกะปริบกะปรอย เนื่องจากตัวอ่อนกำลังฝังตัวลงในผนังมดลูก
คนท้องไตรมาสแรก พุงจะยังไม่สังเกตเห็นชัดเจนนัก เพราะทารกในครรภ์ยังมีขนาดเล็กมาก น้ำหนักตัวของแม่ท้องจะยังคงที่ หรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
พุงของคนท้องกับพุงของคนอ้วนมีลักษณะที่แตกต่างกัน พุงของคนอ้วนจะมีลักษณะนุ่มนิ่มเกิดจากชั้นไขมันในช่องท้อง และมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ส่วนพุงของคนท้องจะมีลักษณะนูนเล็กน้อยในช่วงแรก พุงจะใหญ่ขึ้นตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ น้ำหนักตัวจะขึ้นไม่มากนัก ขึ้นเพียง 1-3 กิโลกรัม ในช่วงแรก
คนท้องระยะแรก สังเกตอาการต่าง ๆ ได้ดังนี้ ประจำเดือนขาด คัดเต้านม คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว อ่อนเพลียง่าย ปัสสาวะบ่อยขึ้น หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดกะปริบกะปรอย
พุงคนท้องระยะแรก จะดูไม่ค่อยออกจริงไหม ?
คนท้องระยะแรกจะดูไม่ค่อยออกเพราะน้ำหนักของแม่ท้องจะขึ้นมาไม่มากนักประมาณ 1-3 กิโลกรัม เพราะทารกในครรภ์ยังมีขนาดเล็กมาก ทำให้ดูไม่ค่อยออกว่าตั้งครรภ์
พุงคนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน
พุงของคนท้องในระยะแรก แม่ท้องส่วนใหญ่จะสังเกตไม่ค่อยเห็น โดยเฉพาะแม่ท้องที่แพ้ท้องมาก ๆ ไม่อยากอาหารทำให้น้ำหนักตัวลด หน้าท้องยิ่งไม่เห็น ส่วนใหญ่แม่ท้องน้ำหนักขึ้นในระยะแรก มักจะขึ้นมา 1-3 กิโลกรัม ทำให้พุงในช่วงแรกอาจขยายยื่นออกมาเล็กน้อย สะดือของแม่ตั้งครรภ์บางคนมีลักษณะแบนราบ บางคนเริ่มนูนยื่นออกมา แม่ท้องบางคนอาจมีอาการปวดสะดือเมื่อสัมผัสบริเวณหน้าท้อง อาการที่แสดงออกมาในช่วงนี้สำหรับแม่ท้อง ไตรมาสแรกหรือตั้งครรภ์ระยะแรกที่สังเกตได้ เช่น ประจำเดือนขาด เต้านมคัดตึง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย คลื่นไส้อาเจียนง่าย
คนท้อง พุงจะเริ่มยื่นออกมาให้เห็นช่วงเดือนไหน
แม่ท้องในไตรมาสแรกอาจมีหน้าท้องหรือเอวที่ขยายขึ้นเพียงเล็กน้อย บางคนแทบไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงเลย สำหรับไตรมาสที่ 2 เริ่มสังเกตได้ด้วยตาเปล่า เพราะหน้าท้อง และเอวของแม่ท้องเริ่มขยายใหญ่ขึ้นตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และอาจรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหวของทารกได้ในสัปดาห์ที่ 20
ความแตกต่างพุงของคนท้องกับพุงของคนอ้วน
พุงคนท้องแตกต่างจากพุงคนอ้วน พุงจะค่อย ๆ โตขึ้นและจะขยายใหญ่ตามขนาดของทารกในครรภ์ แตกต่างจากพุงคนอ้วนที่เกิดจากไขมันที่สะสมในช่องท้อง ทำให้เป็นสาเหตุของอ้วนลงพุง ซึ่งอ้วนลงพุงจะมีน้ำหนักตัวมาก ลักษณะพุงจะเป็นชั้น ๆ เกิดจากการสะสมของไขมันจากการรับประทานอาหารโดยไม่ระมัดระวัง ไม่ออกกำลังกายบริหารร่างกาย ซึ่งนำไปสู่โรคต่าง ๆ ได้
ซึ่ง “ภาวะอ้วนลงพุง” เป็นภาวะที่ระบบการเผาผลาญพลังงานผิดปกติ ทำให้มีไขมันสะสมในช่องท้องหรืออวัยวะในช่องท้องมากเกินไป ส่งผลให้มีหน้าท้องยื่นออกมา ภาวะอ้วนลงพุงไม่ได้พบในเฉพาะคนอ้วนเท่านั้น ถึงแม้ว่าน้ำหนักตัวจะอยู่ในเกณฑ์ปกติก็สามารถเกิดโรคอ้วนลงพุงได้เช่นกัน นอกจากนี้ภาวะอ้วนลงพุงยังส่งผลให้เกิดภาวะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามมาอีกหลายโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น
พุงคนอ้วนวัดอย่างไง
เมื่อไรถึงจะเรียกว่า " อ้วน" หรือ "อ้วนลงพุง" สามารถประเมินได้ง่ายๆ จากการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI)
วิธีการตรวจสอบว่าคุณเป็นภาวะอ้วนลงพุงหรือไม่ ด้วยค่า BMI ?
วิธีการตรวจสอบว่ามีภาวะอ้วนลงพุงอยู่หรือไม่ ให้คำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย หรือค่า BMI ซึ่งมีวิธีคำนวณดังนี้ นำน้ำหนักเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง หรือ BMI = น้ำหนัก (kg) ÷ ส่วนสูง (m)2
หากผลออกมาน้อยกว่า 18.5 นั่นแปลว่า น้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐาน
หากผลออกมา 18.5 – 22.9 นั่นแปลว่า น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
หากผลออกมา 23 – 24.9 นั่นแปลว่า น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
หากผลออกมา 25 – 29.9 นั่นแปลว่า อ้วนระดับ 1
หากผลออกมา มากกว่าหรือเท่ากับ 30 นั่นแปลว่า อ้วนระดับ 2
ทั้งนี้ น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของผู้ชายที่รูปร่างสมส่วน ค่า BMI จะอยู่ที่ 22 –23 ในขณะที่หญิงที่รูปร่างสมส่วน ค่า BMI จะอยู่ที่ 19 –20
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าค่า BMI จะอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่หากมีเส้นรอบเอวที่มากเกิน มีความเป็นไปได้ว่ามีไขมันสะสมที่ช่องท้องหรืออวัยวะภายในช่องท้องมากเกินไป หรืออาจเรียกอีกอย่างว่า ภาวะอ้วนลงพุง ดังนั้นจึงมีวิธีการวัดเส้นรอบเอวดังนี้
ท่าทางอยู่ในลักษณะการยืน
ใช้สายวัด วัดบริเวณรอบสะดือให้ขนานกับพื้น
หายใจปกติ ไม่แขม่วท้อง และสายรัดต้องไม่แน่นจนเกินไป
โดยผู้ชายควรมีรอบเอวไม่เกิน 90 ซม. หรือ 35.4 นิ้ว ส่วนผู้หญิงควรมีรอบเอวไม่เกิน 80 ซม. หรือ 31.5 นิ้ว
ภาพที่แสดงนี้เป็นการเปรียบเทียบ MRI ของตัวอย่างกล้ามเนื้อจากสามบุคคล ประกอบด้วย
1. ชายอายุ 24 ปี
2. ชายอายุ 66 ปี ที่ มีระดับ Inavtive (กล้ามเนื้อไม่ค่อยใช้งาน)
3. และชายอายุ 66 ปี มีระดับ Active (กล้ามเนื้อมีการใช้งานสม่ำเสมอ)
จากภาพทั้งสามจะเห็นได้ชัดเจนว่ามีความแตกต่างระหว่างกล้ามเนื้อของบุคคลที่มีการใช้งานกับบุคคลที่ไม่มีการใช้งาน แม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุเท่ากัน
▪️ กล้ามเนื้อของชายวัย 24 ปีมีลักษณะแน่นและมีความเข้มข้นของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อมากที่สุด
▪️ ในชายอายุ 66 ปี ที่ไม่ได้ใช้งานกล้ามเนื้อจึงมีลักษณะที่ลีบบางและมีไขมันสะสมมากขึ้นในกล้ามเนื้อ
▪️ สำหรับชายอายุ 66 ปี ที่มีระดับกิจกรรมหรือการใช้งานกล้ามเนื้อนั้นยังคงรักษามวลกล้ามเนื้อได้ดี โดยมีความหนาแน่นของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อสูง มีไขมันน้อย เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ออกกำลังกาย
ภาพนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการออกกำลังกายในการรักษามวลกล้ามเนื้อและลดไขมันสะสมในกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อสุขภาพ รวมถึงการเลือกวิธีการในการดูแลควบคุมน้ำหนักที่ถูกต้อง มีความปลอดภัย และไม่ทำลายกระบวนการธรรมชาติของร่างกาย...
นอกจากนี้ จากงานวิจัยของ Mcleod ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของมวลกล้ามเนื้อและองค์ประกอบของร่างกาย ระหว่างผู้ที่มีภาวะ Active และ Inactive ไม่ว่าจะอยู่ในวัยใด โดย งานวิจัยดังกล่าวเน้นย้ำถึงบทบาทพื้นฐานของการรักษามวลกล้ามเนื้อ ไม่เพียงส่งผลต่อความสวยงาม (Aesthetics) แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพด้านเมตาบอลิซึม (Metabolic Health) หรือระบบการเผาผลาญในร่างกาย ดังนี้
กล้ามเนื้อกับระบบเผาผลาญ
ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยมวลกล้ามเนื้อ (Lean Muscle Mass) และมวลไขมัน (Fat Mass) โดยมวลกล้ามเนื้อจัดเป็นเนื้อเยื่อ “Active tissue” ทำหน้าที่สำคัญในการเผาผลาญพลังงาน (Energy Expenditure) ในขณะพัก (Resting metabolic rate) งานวิจัยทางสรีรวิทยาพบว่า มวลกล้ามเนื้อ 1 กิโลกรัม สามารถเผาผลาญแคลอรี่ได้มากกว่ามวลไขมัน 1 กิโลกรัม ถึง 3 เท่า ดังนั้น การรักษามวลกล้ามเนื้อจึงส่งผลต่ออัตราการเผาผลาญพลังงานโดยรวมของร่างกาย ส่งเสริมการควบคุมน้ำหนักในระยะยาว และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ อาทิ โรคเบาหวานชนิดที่ 2
กล้ามเนื้อกับการทำงานของร่างกาย
กล้ามเนื้อทำหน้าที่หลักในการเคลื่อนไหวร่างกาย (Locomotion) การทรงตัว (Posture) และการรักษาสมดุล (Balance) นอกจากนี้ กล้ามเนื้อรอบข้อต่อ (Muscles surrounding Joints) ยังทำหน้าที่ปกป้องข้อต่อจากการสึกหรอ (Joint Degeneration) การมีมวลกล้ามเนื้อที่เพียงพอส่งเสริมการใช้ชีวิตประจำวันอย่างคล่องตัว ลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ และเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย
SLIM UP CENTER จึงให้ความสำคัญกับวิธีการที่ถูกต้องที่จะนำไปสู่ผลลัพท์ของการมีรูปร่างที่สมบูรณ์แบบ ด้วยนวัตกรรมที่เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะจากประเทศอิตาลี รวมถึงการปั้นหุ่น หรือ Body Sculpting ที่ไม่ใช่แค่เพื่อการลดไขมันเพื่อให้รูปร่างดูดีเท่านั้น แต่ยังมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างและรักษาระดับมวลกล้ามเนื้อ โดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมที่สอดคล้องกับหลักการทำงานธรรมชาติของร่างกาย เพื่อส่งมอบคุณค่าแห่งการมีหุ่นสวย สุขภาพดี อย่างยั่งยืนไปด้วย กับ SLIM UP CENTER
ปรึกษาลดน้ำหนัก ไขมัน และ สัดส่วน ทักแชท
หุ่นสวย สุขภาพดี เริ่มต้นที่ Slim Up Center พร้อมให้คำปรึกษาและบริการทั้ง 18 สาขาทั่วประเทศแล้ววันนี้
Contact Us
FB : http://m.me/SlimUp/
Line : https://bit.ly/Slimupcenter หรือ @Slimupcenter
Website: https://www.slimupcenterth.com/
Call Center : 02-620-0000
ติดตามบทความเกี่ยวกับการลดน้ำหนักและการออกกำลังกายที่น่าสนใจได้ที่
Comments